- ประเทศต้องเดินหน้าได้Posted 9 hours ago
- เด็กไทยต้องทำชีวิตก้าวหน้าPosted 1 day ago
- ยุคทะเลเดือดPosted 2 days ago
- รวยลัดเป็นเปลวนรกPosted 3 days ago
- คนทำบุญลดลงPosted 6 days ago
- ใช้สติปัญญาสู้ปัญหาPosted 1 week ago
- คนดีต้องไม่โกงPosted 1 week ago
- หมูเด้งแซงหน้ารัฐบาลPosted 1 week ago
- ผีซ้ำด้ำพลอยPosted 1 week ago
- ถ้าผลงานเข้าตาไม่มีใครไล่Posted 2 weeks ago
สิ่งที่รัฐบาลควรทำเพื่อผู้ซื้อบ้าน
คอลัมน์ :โลกอสังหาฯ
ผู้เขียน : ดร.โสภณ พรโชคชัย
(โลกวันนี้วันสุข ประจำวันที่ 1-8 พฤศจิกายน 2562)
เมื่อเร็วๆนี้มีข่าวว่ารัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านภาคอสังหาริมทรัพย์ แต่มีสิ่งใดที่รัฐบาลควรทำแล้วประชาชนได้ประโยชน์โดยตรง มาลองดูกัน
ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านที่อยู่อาศัยมากว่า 30 ปี เปิดเผยว่า รัฐบาลควรออกมาตรการที่ได้ผลชะงัดต่อการแก้ไขปัญหาอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้ ดร.โสภณให้ข้อคิดไว้ดังต่อไปนี้
1.ภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์ขณะนี้ยังไม่มีแนวโน้มถึงจุดวิกฤต รัฐบาลจึงไม่ควรรีบกระตุ้นการซื้อ อย่างไรก็ตาม มีภาวการณ์เก็งกำไรเกิดขึ้นมากโดยเฉพาะในอาคารชุดพักอาศัย ดังนั้น รัฐบาลจึงควรศึกษาให้รอบคอบก่อนออกมาตรการใดๆ
2.อสังหาริมทรัพย์ไม่อาจใช้กระตุ้นเศรษฐกิจได้โดยตรง เพราะอสังหาริมทรัพย์มีการเปลี่ยนแปลงที่ขึ้นต่อภาวะเศรษฐกิจ เศรษฐกิจจะดีได้อยู่ที่การส่งออก การนำเงินตราเข้าและการลงทุนจากต่างประเทศ ตลอดจนการท่องเที่ยวและภาคบริการสำหรับประชาคมโลก
3.การพัฒนาเศรษฐกิจให้ดีย่อมขึ้นอยู่ที่การทำให้การเมืองไทยมีความมั่นคงในสายตานานาอารยประเทศ เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในการตัดสินใจเลือกซื้อที่อยู่อาศัย และสร้างความเชื่อมั่นกับนักท่องเที่ยวตลอดจนนักลงทุนต่างประเทศในการเข้ามาลงทุนในธุรกิจด้านต่างๆ
4.มาตรการกระตุ้นที่เคยดำเนินการมาแล้วและไม่ควรดำเนินการอีก ได้แก่ การลดอัตราดอกเบี้ย (ดอกเบี้ยต่ำมากอยู่แล้ว คงไม่มีผล) การลดภาษีและค่าธรรมเนียมโอน (สูญเสียรายได้ของรัฐ) การให้กู้ 100% (ผิดวินัยทางการเงิน) การยืดระยะเวลาผ่อนชำระ (เพิ่มภาระผู้ซื้อในระยะยาว) การลดความเข้มงวดในการตรวจสอบเครดิตของผู้กู้ (อาจสร้างหนี้เสีย) การสร้าง “บ้านเอื้ออาทร” (อุปทานภาคเอกชนมีมากอยู่แล้ว) และการอนุญาตให้ต่างชาติเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจะสร้างความเสียหายต่อประเทศชาติ (ยกเว้นจะมีการประกาศใช้ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง)
สำหรับมาตรการที่ควรดำเนินการในขณะนี้ ดร.โสภณเสนอแนะไว้ได้แก่
1.มาตรการที่สมควรนั้นควรยึดประชาชนผู้บริโภคเป็นศูนย์กลาง โดยมุ่งไปที่กิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อผู้ซื้อบ้านโดยตรง ไม่ผ่านผู้เกี่ยวข้องอื่น มาตรการที่ควรดำเนินการได้แก่ การระบายขายบ้านมือสอง ซึ่งจะทำให้เกิดห่วงโซ่การจับจ่ายเพื่อช่วยกระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจเพิ่มเติมโดยไม่จำเป็นต้องผลิตใหม่ และทำให้ผู้บริโภคสามารถซื้อบ้านได้ในราคาถูกกว่า ในการนี้รัฐบาลควรจัดระบบการซื้อขายที่มีประสิทธิภาพ อำนวยประโยชน์ต่อทั้งผู้ซื้อและผู้ขายอย่างรวดเร็ว
2.รัฐบาลควรสร้างความมั่นใจให้ผู้ซื้อ เช่น การคุ้มครองเงินดาวน์ภาคบังคับ (มีบทเรียนจากวิกฤตที่ผ่านมาที่ประชาชนซื้อบ้านแต่ได้เพียงกระดาษใบสัญญา) และการบังคับใช้สัญญาที่ไม่เอาเปรียบผู้บริโภค ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยได้รับความเชื่อถือ ผู้บริโภคมีความมั่นใจ ทำให้เกิดการซื้อขายกันเพิ่มขึ้น สวนกระแสกับภาวะเศรษฐกิจ เป็นช่องทางใช้อสังหาริมทรัพย์ในการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างแท้จริง
3.รัฐบาลควรส่งเสริมให้ภาคเอกชนทั้งไทยและต่างประเทศเข้ามาลงทุนด้านการพัฒนาสาธารณูปโภค เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและเป็นการทำให้เศรษฐกิจเกิดการขยายตัวอย่างยั่งยืน เพราะมีโครงสร้างพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งส่งเสริมให้เข้ามาพัฒนากิจกรรมอุตสาหกรรมต่างๆ อันเป็นการสร้างงาน และนำเงินตราจากต่างประเทศเข้ามาโดยตรง
4.รัฐบาลควรให้ความสำคัญกับการให้ความรู้และข้อมูลแก่ประชาชนอย่างถูกต้อง ตรงไปตรงมา และยึดประโยชน์ของประชาชนผู้บริโภคเป็นศูนย์กลาง เพื่อให้ประชาชนทราบความจริงก่อนการตัดสินใจด้วยวิจารณญาณที่ดี เช่น การเปิดเผยรายการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ต่างๆ ประชาชนจะได้ร่วมกันตรวจสอบว่าเป็นการฟอกเงินหรือไม่ ส่งผลดีต่อการทำฐานข้อมูลเพื่อการประเมินค่าทรัพย์สิน เป็นต้น
5.นอกจากนี้ในการระดมสมองเพื่อออกมาตรการที่สอดคล้องกับความเป็นจริงใดๆควรให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจากทุกฝ่ายเข้าร่วม เช่น ในวงการอสังหาริมทรัพย์มีสมาคมที่เกี่ยวข้องเกือบ 30 แห่ง นอกจากนี้ยังมีผู้แทนของผู้บริโภค เช่น นิติบุคคลบ้านจัดสรรและนิติบุคคลอาคารชุดจำนวนมาก ทั้งนี้ เพื่อให้ประโยชน์ที่จะได้ตกแก่ประชาชนโดยรวมและต่อภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
ทางราชการไม่ควรใช้มาตรการ “ติดสินบน” ผู้ซื้อบ้านบางกลุ่ม เช่น กรณีดอกเบี้ย 0% ในขณะนี้ หรือมาตรการลดภาษีผ่านผู้ประกอบการ เพราะผู้ประกอบการอาจไม่ได้ลดราคาตามสัดส่วนของภาษีที่ลดลง พรรคการเมืองควรใช้มาตรการที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ซื้อบ้านและสังคมโดยรวม
ขอแนะนำการสัมมนาสักเล็กน้อย
1.สัมมนา “กลยุทธ์อาคารเก่า : ซ่อม-สร้างใหม่?” วันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2562 : https://bit.ly/30WQvVK
2.สัมมนา “กลยุทธ์การคิดค่าเช่าที่ดิน-อาคาร” วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน 2562 : https://bit.ly/30YN15l
You must be logged in to post a comment Login